โอเวอร์วอตช์ลีก ฤดูกาล 2019

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเวอร์วอตช์ลีก ฤดูกาล 2019
ลีกโอเวอร์วอตช์ลีก
กีฬาโอเวอร์วอตช์
ระยะเวลา14 กุมภาพันธ์ ถึง 25 สิงหาคม 2562
จำนวนนัด28
จำนวนทีม20
หุ้นส่วนโทรทัศน์
ฤดูกาลปกติ
สเตจเพลย์ออฟ
รอบแกรนด์ไฟนอล
ฤดูกาล

โอเวอร์วอตช์ลีก ฤดูกาล 2019 (อังกฤษ: 2019 Overwatch League) เป็นการแข่งขันฤดูกาลที่สองของโอเวอร์วอตช์ลีก (OWL) ซึ่งเป็นการแข่งขันอีสปอร์ตประเภทเกมโอเวอร์วอตช์ โดยกำหนดการแข่งขันมีขึ้นในระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 และการแข่งขันหลังฤดูกาลจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้ว ในฤดูกาลนี้มีจำนวนทีมเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นจาก 12 ทีมเป็น 20 ทีม โดยในทีมใหม่ทั้งแปดทีม เป็นทีมจากสหรัฐ 2 ทีม แคนาดา 2 ทีม ฝรั่งเศส 1 ทีม และจีน 3 ทีม

ส่วนขยายจากฤดูกาล 2018[แก้]

โอเวอร์วอตช์ลีกเปิดตัวครั้งแรกโดยมีจำนวนทีมทั้งสิ้น 12 ทีมในฤดูกาล 2018 ในฤดูกาลดังกล่าว บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ระบุว่ามีแผนที่จะขยายขนาดลีกขึ้น โดยมีการเพิ่มทีมขึ้นมาอีก 6 ทีมจากทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย และเริ่มพบปะกับเจ้าของทีมที่มีศักยภาพในเดือนมีนาคม 2561[1] ต่อมาในเดือนกันยายน 2561 บลิซซาร์ดออกมายืนยันถึงการเซ็นสัญญากับทีมเพิ่มเติมจำนวนทั้งสิ้น 8 ทีม โดยทีมเหล่านั้นมีฐานที่ตั้งอยู่ในเมืองแอตแลนตา, กว่างโจว, หางโจว, โทรอนโต, กรุงปารีส, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี, แวนคูเวอร์ และเฉิงตู ทำให้จำนวนทีมที่เข้าแข็งขันทั้งหมดรวมเป็นยี่สิบทีม[2] ในขณะที่มีการคาดกันว่าค่าธรรมเนียมต่อแฟรนไชน์น่าจะอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับทีมเดิม และประมาณว่าค่าทำเนียมสำหรับทีมใหม่อาจพุ่งสูงถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] โดยเมื่อรวมทีมใหม่แล้ว ทั้งสองดีวืชั่นจะมีการแบ่งทีมอย่างเท่ากันพอดี โดยดีวิชั่นแอตแลนติกจะนับรวมทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันออกและทวีปยุโรป ส่วนดีวิชั่นแปซิฟิกจะนับรวมทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตกและทวีปเอเขีย

กำหนดการและการเปลี่ยนแปลง[แก้]

กำหนดการแข่งขันสำหรับฤดูกาล 2019 ถูกประกาศเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 โดยยังคงรูปแบบการแข่งขันสี่สเตจ (stage) เหมือนที่ใช้ในฤดูกาล 2018 ไว้ แม้ว่าจะมีเพียงเฉพาะสามสเตจแรกเท่านั้นที่มีการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำรอบ ส่วนสเตจสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นการแข่งขันแบบหกทีมทัวร์นาเมนต์ (six-team tournament) แทนเพื่อคัดเลือกสองทีมสุดท้ายที่จะเข้ารอบในการแข่งขันหลังฤดูกาล[3] ส่วนทีมที่มีคะแนนสูงสุดจำนวนหกทีมในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำฤดูกาล จะใช้วิธีการคัดเลือกแบบเดียวกันกับในที่ใช้ในฤดูกาล 2018 กล่าวคือ เลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุดสองทีมจะแต่ละดีวิชั่นขึ้นมา และคัดเอาอีกสี่ทีมที่มีคะแนนรองลงมาโดยไม่คำนึงถึงดีวิชั่น การแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำฤดูกาลจะเป็นการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์คัดออกสองรอบ (double-elimination tournament) การแข่งขันฤดูกาลปกติ แต่ละทีมจะลงแข่งทีมละ 28 เกม (จากเดิม 40 ในฤดูกาล 2018) โดยอ้างถึงสุขภาพจิตของผู้เล่น และเพิ่มโอกาสให้ผู้เล่นได้กลับภูมิลำเนาเป็นเหตุผลในการลดจำนวนเกมลง ในแต่ละสเตจจะกินเวลาการแข่งขันรวม 5 สัปดาห์ และเพิ่มการพักระหว่างสเตจจากเดิม 1 สัปดาห์เป็น 2 สัปดาห์ (ยกเว้นการพักระหว่างสเตจ 2 และ 3 ที่จะพักเป็นจำนวน 4 สัปดาห์เนื่องจากเป็นการแข่งขันสุดสัปดาห์ออลสตาร์) ในแต่ละสัปดาห์จะมีการแข่งขันจำนวน 4 เกมต่อวัน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ รวมเป็นสิบหกเกมต่อสัปดาห์ (เพิ่มขึ้นจาก 12 เกมในฤดูกาล 2018) โดยแต่ละทีมจะได้ลงเล่นศูนย์ หนึ่ง หรือสองแมตช์ต่อสัปดาห์ ส่วนรอบเพลย์ออฟประจำสเตจจะเพิ่มขนาดการแข่งขันขึ้นเป็นสองเท่าจากฤดูกาล 2018 โดยขยายจำนวนทีมที่เข้ารอบเพลย์ออฟประจำสเตจเป็น 8 ทีม (จาก 4 ทีมในฤดูกาล 2018) ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจากแต่ละดีวิชั่นจะได้เข้ารอบเป็นอันดับที่หนึ่งและสอง ตามด้วยทีมที่มีคะแนนรองอีกหกทีม โดยไม่คำนึงถึงดีวิชั่น[4]

เงินรางวัลรวมเพิ่มขึ้นจาก 3,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 111 ล้านบาท) เป็น 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 158 ล้านบาท) โดยทั้งแปดทีมที่ผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟจะได้รับเงินรางวัลอย่างน้อย 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.9 แสนบาท) ส่วนผู้ชนะประจำสเตจจะได้รับเงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.3 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้าจาก 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในฤดูกาล 2018 ขณะที่รองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากฤดูกาลก่อนถึงสี่เท่า ส่วนอันดับที่สามและสี่จะได้รับเงินรางวัล 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) ขณะที่อันดันที่ห้าถึงแปดจะได้รับเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการแข่งขันหลังฤดูกาล ทีมที่เป็นผู้ชนะในรอบแกรนด์ไฟนอลจะได้รับเงินรางวัล 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35 ล้านบาท) (เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในฤดูกาล 2018) ส่วนอันดับที่สองจะได้รับเงินรางวัล 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19 ล้านบาท) อันดับที่สามจะได้รับเงินรางวัล 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 14 ล้านบาท) อันดับที่สี่จะได้รับเงินรางวัล 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11 ล้านบาท) อันดันที่ห้าและหกจะได้รับเงินรางวัล 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9.5 ล้านบาท) และอันดับที่เจ็ดและแปดจะได้รับเงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.3 ล้านบาท)[5]

การเซ็นสัญญาแบบ free agency ถูกเปิดขึ้นให้กับทีมที่ขยายขึ้นมาในวันที่ 10 กันยายน 2561 และหมดเขตในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าที่ทุกทีมจะเปิดการทำสัญญากับผู้เล่น โดยแต่ทีมจะต้องเซ็นสัญญากับผู้เล่นอย่างน้อย 12 คนภายในวันที่ 1 ธันวาคม[6]

ในฤดูกาล 2019 ยังมีการเซ็นสัญญาแบบสองทาง (two-way contract) เป็นครั้งแรกด้วย โดยผู้เล่นส่วนใหญ่ที่เซ็นสัญญาลักษณะนี้มักเป็นผู้เล่นที่จากการแข่งขันลีก ซึ่งต้องการลงไปเล่นในระดับคอนเทนเดอร์ด้วย ทำให้ผู้เล่นเหล่านั้นไม่สามารถลงแข่งในลีกได้มากกว่าสองแมตช์ต่อสเตจ เนื่องจากไม่สามารถลงแข่งในลีกและคอนเทนเดอร์ในสัปดาห์เดียวกันได้[7]

การแข่งขันส่วนใหญ่จัดขึ้นที่สนามบลิซซาร์ดอารีนา (Blizzard Arena) ความจุ 350 ที่นั่ง[8] นอกเหนือจากการแข่งขันที่สนามบลิซซาร์ดอารีนาแล้วนั้น ฤดูกาล 2019 ยังได้เพิ่มระบบ "สัปดาห์ทีมเหย้า" (Homestand Weeks) ขึ้นเป็นจำนวนสามสัปดาห์ โดยจะจัดการแข่งขันขึ้นที่เมืองอันเป็นที่ตั้งของทีมในลีกจำนวนสามเมือง ได้แก่ สัปดาห์ที่สี่ของสเตจ 2 จัดการแข่งขันขึ้นที่แอลเลนอีเวนท์เซ็นเตอร์ (Allen Event Center) นครแอลเลน รัฐเท็กซัส โดยมีทีมแดลลัส ฟิวเอลเป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ, สัปดาห์ที่ห้าของสเตจ 3 จัดการแข่งขันขึ้นที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (อยู่ระหว่างการคัดเลือกสนาม) โดยมีทีมแอตแลนตา เรนเป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ และครั้งสุดท้าย สัปดาห์ที่ห้าของสเตจ 4 จัดการแข่งขันขึ้นที่เดอะโนโว บาย ไมโครซอฟท์ (The Novo by Microsoft) นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีทีมลอสแอนเจลิส แวเรียนต์เป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ[3]

การแพร่ภาพออกอากาศ[แก้]

ทุกแมตช์การแข่งขันได้รับการแพร่ภาพออกอากาศบนเว็บไซต์ของลีก และผ่านทางเมเจอร์ลีกเกมมิ่ง และผ่านทาง Twitch ส่วนการแข่งขันเพลย์ออฟประจำฤดูกาลจะมีการแพร่ภาพผ่านทาง ESPN, Disney XD และ ABC ด้วย ตามสัญญาที่บลิซซาร์ดได้ทำไว้กับเดอะวอลต์ดิสนีย์ในฤดูกาล 2018 เป็นสัญญาแบบหลายปีจึงมีผลสืบเนื่องมาจนถึงฤดูกาล 2019[9] วันที่ 28 มกราคม 2562 บลิซซาร์ดได้ประกาศว่าช่อง Esports1 ซึ่งดูแลโดยช่องรายการกีฬาสัญชาติเยอรมัน Sport1 จะถ่ายทอดสดการแข่งขันโอเวอร์วอตช์ลีกในประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย[10]

การแข่งขันฤดูกาลปกติ[แก้]

อันดับของทีมขึ้นอยู่กับทั้งสถิติรวมแมตช์แพ้-ชนะ โดยแตกต่างกันไปตามผลต่างจำนวนแผนที่ที่แพ้-ชนะ, สถิติการพบกันในแผนที่ และสถิติการพบกันในแมตช์ ตามลำดับ ถ้าการเสมอมีผลต่อการคัดเลือกในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำสเตจ หรือรอบหลังฤดูกาลทำให้ไม่สามารถคัดตามคะแนนได้ ทีมที่มีคะแนนเสมอกันจึงจะต้องแข่งขันกันในแมตช์ไทเบรกเกอร์[11]

รอบเพลย์ออฟฤดูกาลจะประกอบไปด้วยทีมผู้ชนะในแต่ละดีวิชั่น และทีมในกลุ่มสี่ทีมตัวแทน (four wild card) ซึ่งเป็นทีมที่มีสถิติการแข่งขันดีที่สุดรองลงมาโดยไม่คำนึงถึงดีวิชั่น และทีมอันดับแรกจำนวนสองทีมที่เข้ารอบไปก่อนหน้าแล้ว[12]

สถิติตลอดฤดูกาล[แก้]

ข้อมูลเมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 (2019 -05-05).[13]

ตารางสถิติตลอดฤดูกาลของโอเวอร์วอตช์ลีก 2019
# ทีม ดีวิชั่น ชนะ แพ้ %ชนะ เล่น สถิติ ต่าง สะสม
ผู้นำแต่ละดีวิชั่น
1 แวนคูเวอร์ ไททันส์ PAC 14 0 1.000 14 49–9–0 +40 W14
2 นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ ATL 12 2 .857 14 43–13–2 +30 L2
ทีมตัวแทน (Wild Card)
3 ซานฟรานซิสโก ช็อก PAC 11 3 .786 14 45–12–0 +33 W8
4 ลอนดอน สปิตไฟร์ ATL 9 5 .643 14 33–21–4 +12 W1
5 ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์ PAC 9 5 .643 14 33–22–3 +11 L1
6 แดลลัส ฟิวเอล PAC 9 5 .643 14 31–26–1 +5 W3
เล่นในทัวร์นาเมนต์ (Play-in Tournament)
7 ฟิลาเดลเฟีย ฟิวชัน ATL 8 6 .571 14 29–27–2 +2 L1
8 หางโจว สปาร์ก PAC 8 6 .571 14 27–32–1 -5 W3
9 โซล ดีนัสตี PAC 7 7 .500 14 31–26–1 +5 L2
10 แอตแลนตา เรน ATL 7 7 .500 14 32–29–0 +3 W1
11 โทรอนโต ดีไฟแอนท์ ATL 7 7 .500 14 27–29–2 -2 W1
12 บอสตัน อัปไรซิง ATL 7 7 .500 14 29–32–1 -3 L1
อินเดอะฮันท์ (In the hunt)
13 เซี่ยงไฮ้ ดรากอนส์ PAC 7 7 .500 14 26–30–2 -4 L1
14 เฉิงตู ฮันเตอส์ PAC 6 8 .429 14 27–34–0 -7 L1
15 กว่างโจว ชาร์จ PAC 5 9 .357 14 23–38–0 -15 W2
16 ปารีส อีเทอร์นาล ATL 5 9 .357 14 19–35–3 -16 L4
17 ลอสแอนเจลิส แวเรียนต์ PAC 3 11 .214 14 22–37–3 -15 W1
18 ฮิวสตัน เอาต์ลอวส์ ATL 3 11 .214 14 17–40–2 -23 L8
19 วอชิงตัน จัสทิซ ATL 2 12 .143 14 17–42–1 -25 W1
20 ฟลอริดา เมย์เฮม ATL 1 13 .071 14 15–42–2 -27 L12
คำอธิบาย
       x – เข้ารอบในฐานะเป็นผู้ถูกเลือกให้เข้าเล่นรอบเพลย์ออฟ
       y – เข้ารอบในฐานะอันดับหนึ่งของแต่ละดีวิชั่น
การเสมอคะแนน

สเตจ 1[แก้]

ทีมที่เป็นผู้นำของทั้งสองดีวิชั่น และทีมที่มีคะแนนเป็นรองอีกหกทีม โดยไม้คำนึงถึงดีวิชั่น จะผ่านเช้ารอบไปเล่นในรอบเพลย์ออฟประจำสเตจ 1[11] ผู้ชนะแต่ละดีวิชั่นจะได้เช้ารอบเป็นสองอันดับแรก ขณะที่ทีมที่เหลือจะเป็นอันดับที่สามถึงแปดในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำสเตจ 1[12]

ตารางสถิติสเตจ 1 ของโอเวอร์วอตช์ลีก 2019
# ทีม ดีวิชั่น ชนะ แพ้ %ชนะ เล่น สถิติ ต่าง สะสม
ผู้นำของสเตจ
1 (y)แวนคูเวอร์ ไททันส์ PAC 7 0 1.000 7 24–6–0 +18 W7
2 (y)นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ ATL 7 0 1.000 7 22–6–1 +16 W7
เข้ารอบเพลย์ออฟประจำสเตจ
3 (x)โทรอนโต ดีไฟแอนท์ ATL 5 2 .714 7 16–11–2 +5 W3
4 (x)ฟิลาเดลเฟีย ฟิวชัน ATL 5 2 .714 7 17–12–1 +5 W3
5 (x)แอตแลนตา เรน ATL 4 3 .571 7 18–12–0 +6 W1
6 (x)ซานฟรานซิสโก ช็อก PAC 4 3 .571 7 17–12–0 +5 W1
7 (x)โซล ดีนัสตี PAC 4 3 .571 7 16–11–1 +5 W2
8 (x)บอสตัน อัปไรซิง ATL 4 3 .571 7 16–13–1 +3 W2
ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าเพลย์ออฟ
9 แดลลัส ฟิวเอล PAC 4 3 .571 7 15–15–0 ±0 L1
10 ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์ PAC 3 4 .429 7 14–13–2 +1 W2
11 กว่างโจว ชาร์จ PAC 3 4 .429 7 15–16–0 -1 L2
12 ฮิวสตัน เอาต์ลอวส์ ATL 3 4 .429 7 13–16–1 -3 L1
13 หางโจว สปาร์ก PAC 3 4 .429 7 12–16–1 -4 L1
14 เซี่ยงไฮ้ ดรากอนส์ PAC 3 4 .429 7 13–17–0 -4 W1
15 ลอนดอน สปิตไฟร์ ATL 3 4 .429 7 12–16–2 -4 L2
16 เฉิงตู ฮันเตอส์ PAC 3 4 .429 7 12–20–0 -8 W1
17 ปารีส อีเทอร์นาล ATL 3 4 .429 7 9–17–2 -8 L1
18 วอชิงตัน จัสทิซ ATL 1 6 .143 7 9–20–1 -11 W1
19 ฟลอริดา เมย์เฮม ATL 1 6 .143 7 9–20–1 -12 L5
20 ลอสแอนเจลิส แวเรียนต์ PAC 0 7 .000 7 10–19–2 -9 L7
คำอธิบาย
       x – เป็นผู้ถูกเลือกให้เข้าเล่นรอบเพลย์ออฟ
       y – อันดับหนึ่งของแต่ละดีวิชั่น
การเสมอคะแนน


รอบเพลย์ออฟ[แก้]

  รอบก่อนรองชนะเลิศสเตจ รอบรองชนะเลิศสเตจ รอบชิงชนะเลิศสเตจ
                           
  1 แวนคูเวอร์ ไททันส์ 3
8 บอสตัน อัปไรซิง 0
1 แวนคูเวอร์ ไททันส์ 4  
7 โซล ดีนัสตี 0  
4 ฟิลาเดลเฟีย ฟิวชัน 3
  5 แอตแลนตา เรน 1
(การจับคู่แข่งจะดำเนินต่อหลังจากจบการแข่งขันในรอบแรก)   1 แวนคูเวอร์ ไททันส์ 4
  6 ซานฟรานซิสโก ช็อก 3
  3 โทรอนโต ดีไฟแอนท์ 0
6 ซานฟรานซิสโก ช็อก 3
4 ฟิลาเดลเฟีย ฟิวชัน 0
6 ซานฟรานซิสโก ช็อก 4  
2 นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ 1
  7 โซล ดีนัสตี 3

สเตจ 2[แก้]

ตารางสถิติสเตจ 2 ของโอเวอร์วอตช์ลีก 2019
# ทีม ดีวิชั่น ชนะ แพ้ %ชนะ เล่น สถิติ ต่าง สะสม
ผู้นำของสเตจ
1 (y)ซานฟรานซิสโก ช็อก PAC 7 0 1.000 7 28–0–0 +28 W7
2 (y)ลอนดอน สปิตไฟร์ ATL 6 1 .857 7 21–5–2 +16 W1
เข้ารอบเพลย์ออฟประจำสเตจ
3 (x)แวนคูเวอร์ ไททันส์ PAC 7 0 1.000 7 25–3–0 +22 W7
4 (x)ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์ PAC 6 1 .857 7 19–9–1 +10 L1
5 (x)นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ ATL 5 2 .714 7 21–7–1 +14 L2
6 (x)แดลลัส ฟิวเอล PAC 5 2 .714 7 16–11–1 +5 W3
7 (x)หางโจว สปาร์ก PAC 5 2 .714 7 15–16–0 -1 W3
8 (x)เซี่ยงไฮ้ ดรากอนส์ PAC 4 3 .571 7 13–13–2 ±0 L1
ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าเพลย์ออฟ
9 เฉิงตู ฮันเตอส์ PAC 3 4 .429 7 15–14–0 +1 W1
10 โซล ดีนัสตี PAC 3 4 .429 7 15–15–0 ±0 L1
11 ฟิลาเดลเฟีย ฟิวชัน ATL 3 4 .429 7 12–15–1 -3 L1
12 แอตแลนตา เรน ATL 3 4 .429 7 14–17–0 -3 W1
13 บอสตัน อัปไรซิง ATL 3 4 .429 7 13–19–0 -6 L1
14 ลอสแอนเจลิส แวเรียนต์ PAC 3 4 .429 7 12–18–1 -6 L2
15 โทรอนโต ดีไฟแอนท์ ATL 2 5 .286 7 11–18–0 -7 W1
16 ปารีส อีเทอร์นาล ATL 2 5 .286 7 10–18–1 -8 L4
17 กว่างโจว ชาร์จ PAC 2 5 .286 7 8–22–0 -14 W2
18 วอชิงตัน จัสทิซ ATL 1 6 .143 7 8–21–0 -13 W1
19 ฟลอริดา เมย์เฮม ATL 0 7 .000 7 6–21–1 -15 L7
20 ฮิวสตัน เอาต์ลอวส์ ATL 0 7 .000 7 4–24–1 -20 L7
คำอธิบาย
       x – เป็นผู้ถูกเลือกให้เข้าเล่นรอบเพลย์ออฟ
       y – อันดับหนึ่งของแต่ละดีวิชั่น
การเสมอคะแนน


รอบเพลย์ออฟ[แก้]

  รอบก่อนรองชนะเลิศสเตจ รอบรองชนะเลิศสเตจ รอบชิงชนะเลิศสเตจ
                           
  1 ซานฟรานซิสโก ช็อก 3
8 เซี่ยงไฮ้ ดรากอนส์ 1
1 ซานฟรานซิสโก ช็อก 4  
7 หางโจว สปาร์ก 0  
4 ลอสแอนเจลิส แกลดิเอเตอส์ 0
  5 นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ 3
(การจับคู่แข่งจะดำเนินต่อหลังจากจบการแข่งขันในรอบแรก)   1 ซานฟรานซิสโก ช็อก
  3 แวนคูเวอร์ ไททันส์
  3 แวนคูเวอร์ ไททันส์ 3
6 แดลลัส ฟิวเอล 0
3 แวนคูเวอร์ ไททันส์ 4
5 นิวยอร์ก เอ็กซ์เซลซิเยอร์ 1  
2 ลอนดอน สปิตไฟร์ 1
  7 หางโจว สปาร์ก 3

ผู้ชนะ[แก้]

เงินรางวัลรวมตลอดการแข่งขันของฤดูกาลนี้คือ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 158,580,000 ล้านบาท) โดยตามกฎของลีก จำนวนเงินอย่างน้อย 50% จะต้องแบ่งให้กับสมาชิกทีม และส่วนที่เหลือจึงตกเป็นของทีม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Palmeri, Christopher (May 3, 2018). "To Fight Fortnite, Activision Is Retooling How Its Games Work". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ May 3, 2018.
  2. "Overwatch League to Open 2019 Season with 20 Teams". The Overwatch League. September 7, 2018. สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  3. 3.0 3.1 Carpenter, Nicole (December 12, 2018). "Overwatch League's 2019 Schedule Reveals Home Games for Dallas, Atlanta, and L.A." Dot Esports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  4. Carpenter, Nicole (October 10, 2018). "Overwatch League season two begins in February". Dot Esports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  5. "2019 Schedule Revealed". The Overwatch League. สืบค้นเมื่อ January 8, 2019.
  6. Murray, Trent (June 15, 2018). "Overwatch League Free Agency Rules Indicate Expansion Team Announcements By September". The Esports Observer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  7. "So You Want to Build a New Roster". The Overwatch League. สืบค้นเมื่อ January 8, 2019.
  8. "Blizzard wants to 'help usher in a new era of competitive entertainment' with the Blizzard Arena". ESPN. September 7, 2017. สืบค้นเมื่อ April 14, 2018.
  9. "Overwatch League comes to ESPN, Disney and ABC". ESPN. July 11, 2018. สืบค้นเมื่อ July 11, 2018.
  10. Heath, Jerome (January 28, 2019). "The next season of Overwatch League will be broadcast live on TV in Germany, Austria and Switzerland". Dot Esports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  11. 11.0 11.1 "Overwatch League Standings". The Overwatch League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 21 February 2019.
  12. 12.0 12.1 "Overwatch League Summary of Official Rules 2019 Season". The Overwatch League. สืบค้นเมื่อ 21 February 2019.
  13. "2019 Standings". The Overwatch League. สืบค้นเมื่อ May 5, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]